อาหารสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง กินอะไรดี ช่วยควบคุมความดัน

อาหารสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง กินอะไรดี ช่วยควบคุมความดัน โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย และความดันโลหิตสูงก็ยังควบคุมได้ค่อนข้างยาก แค่เครียด รู้สึกโกรธ หรือตื่นเต้น ก็อาจทำให้ความดันขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจึงต้องรับประทานยาคุมความดันอยู่ตลอด แต่นอกจากยาแล้ว อาหารที่เรากินเข้าไปก็มีส่วนช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ด้วย งั้นมาดูตัวอย่างเมนูอาหารเลยว่า เป็นความดันสูง กินอะไรดี ที่จะช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงไม่แย่ลง

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูต้ม

– ข้าวซ้อมมือต้ม

– ข้าวต้มปลา/ไก่/หมู

– โจ๊กไก่บด

– ซุปมันฝรั่ง ใส่ไก่ และมะเขือเทศ

– ซุปเต้าหู้อ่อน

– ซุปไก่

– ซุปฟักทอง

– ต้มจืดตำลึงไก่บด

– ต้มจืดเต้าหู้หมูสับ

– ต้มจืดมะระ

– ต้มจืดผักกาดขาว แครอต

– ไข่น้ำ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ประเภทก๋วยเตี๋ยว

– กระเพาะปลา

– ก๋วยเตี๋ยวน้ำไก่มะระตุ๋น (น้ำใส)

– ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักรวมไก่

ต้องระวังอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูป อย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้ดี เพราะมีโซเดียมเยอะมากนะคะ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูนึ่ง อบ

– ปลานึ่งขิงขึ้นฉ่าย

– ปลานึ่งมะนาว

– ผักนึ่ง จิ้มน้ำพริก

– อกไก่นึ่ง ผักนึ่ง

– ไข่ตุ๋น

– ข้าวอบธัญพืช

– กุ้งอบวุ้นเส้น

เรายังสามารถนำเนื้อสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาพลิกแพลง อบ นึ่ง ได้อีกหลายอย่าง สำคัญคืออย่าปรุงรสเยอะ และพยายามหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมันทุกชนิดด้วย

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูแกง

– แกงส้มผักรวมปลา (รสอ่อน ๆ)

– แกงป่าผักรวมหมู

– ต้มยำปลาช่อนใส่เห็ดฟาง

– ต้มยำปลาทูสด

– แกงกะทิปลาสลิดใบมะขามอ่อน

– ขนมจีนน้ำยาป่า + ผักสด + ไข่ต้ม

จริง ๆ แล้ว แกงกระทิก็รับประทานได้นะคะ แต่อย่าบ่อยจนเกินไป และที่สำคัญคืออย่าปรุงรสจัด เพราะผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรต้องระมัดระวังเรื่องโซเดียมในอาหารให้มาก

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูผัด

– ผัดบวบใส่ไข่

– ผัดผักบุ้งไฟแดง

– ผัดผักรวม

– ผัดกะหล่ำดอก

– ผัดบรอกโคลี เห็ดเข็มทอง กุ้งสด

– ผัดเต้าหู้ถั่วงอก

– ผัดเปรี้ยวหวานเต้าหู้

– ผัดฉ่าปลาทับทิม / ปลานิล

– ปลาผัดใบขึ้นฉ่าย

– เต้าหู้ผัดขึ้นฉ่าย

– เห็ดเข็มทองผัดฉ่า

นอกจากเมนูผัดข้างต้นแล้ว ก็สามารถหาเมนูอาหารประเภทผัดอื่น ๆ มารับประทานได้ ขอแค่อย่าเค็ม อย่าปรุงรสจัด ลดมัน และควรจะมีผักในมื้ออาหารด้วยทุกครั้ง

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูยำ น้ำพริก

– ยำผักรวมกุ้งสด

– น้ำพริกปลาย่าง ผักต้ม

– ลาบมะเขือ

– ยำเห็ด

– ยำถั่วพู

– ยำใบบัวบก

– ยำผักผลไม้

– ยำตะไคร้

– พล่าตะไคร้ปลาอินทรีย่าง

– ตำมะเขือ

– ขึ้นฉ่ายยำวุ้นเส้น

– น้ำพริกหนุ่ม รสไม่จัด + ผักต้มหรือนึ่ง

เมนูยำ ส้มตำ หรือน้ำพริก หลน หากเป็นไปได้อยากให้ปรุงรับประทานเอง เพื่อจะได้ลดโซเดียม ลดความเค็มในอาหารประเภทนี้ได้ โดยเลี่ยงส้มตำปู ปลาร้า ไข่เค็ม กุ้งแห้ง นอกจากนี้ ทางที่ดีก็ไม่ควรซื้อน้ำพริกสำเร็จรูป หรือยำสำเร็จรูปซึ่งอาจมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างเยอะมารับประทานด้วย

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เมนูสลัด

– สลัดอะโวคาโด ราดน้ำมันงา

– สลัดผัก-ผลไม้ ผสมธัญพืช เช่น งา ลูกเดือย ถั่วต่าง ๆ

– สลัดผักเพิ่มถั่วขาวต้มสุก ราดน้ำสลัดงา

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ประเภทขนม-ของว่าง

– สาคูเปียกข้าวโพด

– ถั่วเขียวต้มน้ำตาล

– ขนมถั่วแดงเย็น

– เต้าฮวยฟรุตสลัด

– เต้าฮวยธัญพืช

– เต้าฮวยน้ำขิง

– บัวลอยงาดำน้ำขิง

– มันต้มขิง

– เต้าทึง

– ขนมกุยช่าย

– นมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนย

– นมถั่วเหลือง

– โยเกิร์ตรสธรรมชาติ

– ขนมปังโฮลวีต

– เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ ไม่ใส่เกลือ

– อัลมอนด์อบ ไม่ใส่เกลือ

– มูสลี่ธัญพืชรวม

พยายามหลีกเลี่ยงของหวานที่มีสัดส่วนของเกลือเยอะ อย่างข้าวเหนียวมูนกระทิ ขนมปังปอนด์ หรือผลิตภัณฑ์จากแป้งที่ใส่เกลือหรือผงฟูในปริมาณมาก เช่น เค้ก คุกกี้ รวมทั้งขนมขบเคี้ยวที่ใส่เกลือ และใส่วัตถุกันเสีย

Scroll to Top